TR.SHE-027 หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน (จป.หัวหน้างาน)

หลักการและเหตุผล


      
ตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565 กำหนดให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 บัญชี 2 และบัญชี 3 ตามที่กระทรวงกำหนด ต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่างๆ คือ ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ

      ในกรณีที่ลูกจ้างระดับหัวหน้างานไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 8 ให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างนั้นเข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ 8 (1) เพื่อแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน
      ทั้งนี้ การดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่างๆ ต้องปฏิบัติตามข้อ 43 กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ทั้งนี้ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
      ดังนั้นเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานและมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
          (1) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
          (2) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
          (3) มีคุณสมบัติตามข้อ 15 ข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี

 วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการปฏิบัติได้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในบาทบาทหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนด
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถค้นหาอันตราย และพิจารณาหาแนวทางวิธีการควบคุม ป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม
 กลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้เข้าอบรมต้องเป็น “ลูกจ้าง” ซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน
 ระยะเวลาการอบรม

   12 ชั่วโมง (2 วัน)

 รูปแบบการฝึกอบรม
  1. เน้นการบรรยายและเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม Participatory Techniques
  2. เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงแบบ Scenario แบบกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity)
  3. เน้นการเรียนรู้แบบ Pragmatist Activist เพื่อให้เกิดการรับรู้ประสบการณ์ใหม่
  4. เน้นการฝึกฏิบัติบทบาทสมมุติ Focus on roleplaying
 ราคาค่าอบรม In-House

 ราคาปกติ 25,000 บาท
 ราคาสมาชิก 23,000 บาท  

  • ราคานี้ยังไม่รวม vat 7%
  • ราคาค่าอบรมรวม: เอกสาร + วิทยากร + วุฒิบัตร
  • ราคาค่าอบรมรวม: ค่าที่พัก/ค่าเดินทางวิทยากรแล้ว (ยกเว้นจัดอบรมต่างจังหวัด)
  • ราคานี้ต่อผู้เข้าอบรม 20 คน/รุ่น, คนเพิ่มคิดท่านละ 200 บาท (สูงสุดไม่เกิน 60 คน ตามกฎหมายกำหนด)
 วิทยากรผู้สอน
  • วิทยากรที่ได้รับอนุมัติจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
 เนื้อหาหลักสูตร

 วันที่ 1

   08.30-08.45 น. ลงทะเบียน
   08.45-09.00 น. ทำแบบทดสอบก่อนอบรม
   09.00-10.30 น. หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
                       - (ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

   10.30-10.45 น. พักเบรค
   10.45-12.15 น.    - (ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน


   12.15-13.15 น. พักรับประทานอาหาร


   13.15-14.30 น.  หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                       - (ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

   14.30-14.45 น. พักเบรค
   14.45-16.30 น.    - (ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

 

 วันที่ 2

   08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
   09.00-10.30 น. หมวดวิชาที่ 3 การค้นหาอันตรายจากการทำงาน และการจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                       - (ก) การตรวจความปลอดภัย
                       - (ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

   10.30-10.45 น. พักเบรค
   10.45-12.15 น.    - (ค) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุ
                      - (ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน


   12.15-13.15 น. พักรับประทานอาหาร


   13.15-14.30 น.  หมวดวิชาที่ 4 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน
                       - (ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
                       - (ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
                       - (ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
                       - (ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ

   14.30-14.45 น. พักเบรค
   14.45-16.30 น.    - (จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                       - (ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
                       - (ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
                       - (ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
                       - (ฌ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

    16.30-17.00 ทำแบบทดสอบหลังอบรม

   *** มอบวุฒิบัตร


รับจัดฝึกอบรมภายในองค์กร : หลักสูตรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Visitors: 4,016,107