TR.SHE-026 หลักสูตร การจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (PSM)

หลักการและเหตุผล


       
 ตามที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้มีประกาศเรื่องมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตและการตรวจประเมินความปลอดภัยโดยมีกำหนดบังคับใช้ ในนิคมอุตสากรรม เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 ซึ่งมีเจตนาเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต การป้องกันการเกิดอุบัติการณ์และการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตที่มีการใช้สารเคมีอันตรายร้ายแรง โดยใช้มาตรการทางการจัดการและพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมในการชี้บ่ง ประเมิน และควบคุมอันตรายจากกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การออกแบบ การใช้ การผลิต การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การทดสอบและการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายร้ายแรงในเขตนิคมอุตสาหกรรม โดยจะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2564 ในการนี้ทางบริษัทศูนย์เทคโนโลยี่ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม จำกัดได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้จัดหลักสูตรอบรมการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตความปลอดภัยกระบวนการผลิตบนปัจจัยความเสี่ยง
         เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตและสามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ ในสถานประกอบอย่างมีประสิทธิผลทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติการณ์จากสารเคมี

 วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตและการป้องกันหรือลดความรุนแรงความสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน สภาพแวดล้อมและภาพลักษณ์ขององค์กร
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถทำการประยุกต์การใช้งานกับระบบมาตรฐานที่มีอยู่ในองค์กรให้เป็นระบบเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปจัดทำโปรแกรมให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืนในองค์กร
  4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปกำหนดเป็นมาตรฐานต้นแบบและขยายมาตรฐานไปยังหน่วยงานสาขา หรือหุ้นส่วนธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ
 กลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้ประกอบการที่มีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายร้ายแรงในปริมาณครอบครอง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่ากับหรือมากกว่าปริมาณที่ กนอ.กำหนด
  • ผู้ประกอบการที่มีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับแก๊สไวไฟหรือของเหลวไวไฟ ที่มีปริมาณครอบครอง ตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัมหรือ 10,000 ปอนด์ขึ้นไป ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (เว้นแต่แก๊สไวไฟหรือของเหลวไวไฟซึ่งนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น เช่น ใช้สำหรับหม้อน้ำ หรือเติมยานพาหนะ)
  • ผู้รับผิดชอบความปลอดภัยในกระบวนการผลิต, ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัย, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย, วิศวกรฝ่ายผลิต/วิศวกรโรงงาน และผู้สนใจทุกท่าน
 ระยะเวลาการอบรม

   12 ชั่วโมง (2 วัน)

 รูปแบบการฝึกอบรม
  1. เน้นการบรรยายและเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม Participatory Techniques
  2. เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงแบบ Scenario แบบกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity)
  3. เน้นการเรียนรู้แบบ Pragmatist Activist เพื่อให้เกิดการรับรู้ประสบการณ์ใหม่
  4. เน้นการฝึกฏิบัติบทบาทสมมุติ Focus on roleplaying
 ราคาค่าอบรม

 ราคาปกติ 35,000 บาท
 ราคาสมาชิก 33,000 บาท  

  • ราคานี้ยังไม่รวม vat 7%
  • ราคาค่าอบรมรวม: วิทยากร + วุฒิบัตร
  • ราคาค่าอบรมรวม: ค่าที่พัก/ค่าเดินทางวิทยากรแล้ว (ยกเว้นจัดอบรมต่างจังหวัด)
  • ราคานี้ต่อจำนวนผู้เข้าอบรม 30 คน (จำนวนคนเพิ่มคิดท่านละ 300 บาท สูงสุดไม่เกิน 60 คน)
 วิทยากรผู้สอน
  • ผู้มีประสบการณ์ในการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (PSM) ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจประเมินภายนอกการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
 เนื้อหาหลักสูตร

 วันที่ 1

   08.30-08.45 น. ลงทะเบียน
   08.45-09.00 น. ทดสอบก่อนการอบรม
   09.00-10.30 น. ภาพรวมข้อบังคับ ฯ กนอ. และการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต
                        - ความเข้าใจในข้อบังคับฯ กนอ.
                        - ความสำคัญและความจำเป็นของการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (PSM) โดยองค์รวม
                     วัตถุประสงค์การดำเนินการระบบ PSM
                     เงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการความปลอดภัย
                     การกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต

   10.30-10.45 น. พักเบรค
   10.45-12.15 น.  ความรู้ องค์ประกอบการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตและการนำไปประยุกต์ใช้ตามหลักการ PDCA
                    ข้อกำหนดที่ 1 การมีส่วนร่วมของพนักงาน (​Employee Participation: EP)
                    ข้อกำหนดที่ 2 ข้อมูลความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Information : PSI)


   12.15-13.15 น. พักรับประทานอาหาร


   13.15-14.30 น.  ข้อกำหนดที่ 3 การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต (Process Hazard Analysis : PHA)
                    ข้อกำหนดที่ 4 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Operating Procedures : OP)
                    ข้อกำหนดที่ 5 การฝึกอบรม (Training)

   14.30-14.45 น. พักเบรค
   14.45-16.30 น. ข้อกำหนดที่ 6 การจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา (Contractor Safety Management : CSM)
                    ข้อกำหนดที่ 7 การทบทวนความปลอดภัยก่อนการเริ่มเดินเครื่อง (Pre-Startup Safety Review : PSSR)

 

 วันที่ 2

   08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
   09.00-10.30 น. ข้อกำหนดที่ 8 ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ (Mechanical Integrity : MI)
                      ข้อกำหนดที่ 9 การอนุญาตทํางานที่อาจทําให้เกิดความร้อนและประกายไฟ (Hot Work Permits) และการอนุญาตทํางานที่ไม่ใช่งานประจํา (Non-Routine Work Permits)

   10.30-10.45 น. พักเบรค
   10.45-12.15 น.  ข้อกำหนดที่ 10 การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Management of Change : MOC)
                    ข้อกำหนดที่ 11 การสอบสวนอุบัติการณ์ (Incident Investigation : II)
                    ข้อกำหนดที่ 12 การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Planning and Response : EPR)


   12.15-13.15 น. พักรับประทานอาหาร


   13.15-14.30 น.  ข้อกำหนดที่ 13 การตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกําหนด (Compliance Audits)
                    ข้อกำหนดที่ 14 ความลับทางการค้า (Trade Secrets)

   14.30-14.45 น. พักเบรค
   14.45-16.30 น. Workshop!!...การวางแผนดำเนินการและการจัดตั้งทีมงานจัดทำระบบ PSM
                    Workshop!!...การเตรียมการตรวจประเมินภายในและตรวจประเมินภายนอก

    16.30-17.00 ทดสอบหลังการอบรม


   *** มอบวุฒิบัตร


รับจัดฝึกอบรมภายในองค์กร : หลักสูตรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Visitors: 2,996,323