TR.SHE-014 หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

หลักการและเหตุผล


       
 ตามกฎกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2558 กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ  และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หมวด 1 ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และข้อ 13 (2) การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยการผายปอดด้วยวิธีปากเป่าอากาศ เข้าทางปากหรือจมูกของผู้ประสบอันตราย และการนวดหัวใจจากภายนอก

         การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า กล่าวคือนายจ้างต้องให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าว จากนั้น จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม, วัน เวลาในการฝึกอบรม พร้อมกับชื่อของวิทยากรที่ฝึกอบรม แจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่เสร็จสิ้น และเก็บทะเบียนไว้ ณ สำนักงานของนายจ้าง พร้อมให้เจ้าหน้าที่แรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา

         การเล็งเห็นความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตอย่างมากมาย เช่นนำมาใช้ในการผลิตและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งก็ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่หากเราใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ถูกวิธีและใช้ไฟฟ้าด้วยความประมาทก็นำมาซึ่งอันตรายแก่ผู้ใช้งาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ทั้งนี้ก็เพื่อเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเรื่องการทำงานคือ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก

 วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายฯ ไม่เสี่ยงต่อการได้รับโทษจำคุก หรือโทษปรับ หากเกิดอัคคีภัยหรือเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากเรื่องไฟฟ้า
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้อันตรายจากไฟฟ้าและหลักการป้องกันอันตรายเกี่ยวกับไฟฟ้า
  4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และได้ฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลได้อย่างปลอดภัยทั้งผู้ประสบอันตรายและผู้ช่วยเหลือ
 กลุ่มเป้าหมาย
  • วิศวกร,หัวหน้างาน,ช่าง,พนักงานฝ่ายผลิตเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือมีโอกาสสัมผัสกับไฟฟ้า
  • ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า อาทิเช่น ทำหน้าที่ติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ ซ่อมแซมบำรุงรักษา หรือหน้าที่อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า เครื่องใช้/บริภัณฑ์ไฟฟ้า
 ระยะเวลาการอบรม

   6 ชั่วโมง (1 วัน)

 รูปแบบการฝึกอบรม
  1. เน้นการบรรยายและเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม Participatory Techniques
  2. เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงแบบ Scenario แบบกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity)
  3. เน้นการเรียนรู้แบบ Pragmatist Activist เพื่อให้เกิดการรับรู้ประสบการณ์ใหม่
  4. เน้นการฝึกฏิบัติบทบาทสมมุติ Focus on roleplaying
 ราคาค่าอบรม

 ราคาปกติ 20,000 บาท
 ราคาสมาชิก 19,000 บาท  

  • ราคานี้ยังไม่รวม vat 7%
  • ราคาค่าอบรมรวม: วิทยากร + วุฒิบัตร
  • ราคาค่าอบรมรวม: ค่าที่พัก/ค่าเดินทางวิทยากรแล้ว (ยกเว้นจัดอบรมต่างจังหวัด)
  • ราคานี้ต่อจำนวนผู้เข้าอบรม 30 คน (จำนวนคนเพิ่มคิดท่านละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 60 คน)
 เนื้อหาหลักสูตร

   08.30-08.45 น. ลงทะเบียน
   08.45-09.00 น. ทดสอบก่อนการอบรม
   09.00-10.30 น. ส่วนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไฟฟ้า
                        - กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
                        - ประเภทและลักษณะของการประสบอันตรายจากไฟฟ้า
                        - สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากไฟฟ้า
                        - ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้า

   10.30-10.45 น. พักเบรค
   10.45-12.15 น.  ส่วนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไฟฟ้า...(ต่อ)
                        - ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์
                        - หลักการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
                        - อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
                        - การตรวจสอบระบบไฟฟ้าเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน


   12.15-13.15 น. พักรับประทานอาหาร


   13.15-14.30 น.  ส่วนที่ 2 การช่วยชีวิตผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า
                        - วิธีปฏิบัติเมื่อพบผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า
                        - การช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าในการทำงานบนที่สูง
                        - วิธีการปฐมพยาบาลและช่วยชีวิตผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า

   14.30-14.45 น. พักเบรค
   14.45-16.30 น. ส่วนที่ 2 การช่วยชีวิตผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า...(ต่อ)
                        - กรณีผู้ประสบอันตรายมีบาดแผล เสียเลือด
                        - การประเมินแผลไหม้จากการประสบอันตรายจากไฟฟ้าและการปฐมพยาบาลแผลไหม้
                        - กรณีผู้ประสบอันตรายกระดูกหักและการเข้าเฝือกผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า

   16.30-17.00 ทดสอบหลังการอบรม

   *** มอบวุฒิบัตร


รับจัดฝึกอบรมภายในองค์กร : หลักสูตรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Visitors: 2,996,259